วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ศิลปวัฒนธรรมในสมัยรัชกาลที่ 6


ที่มา : สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
           

          ความเปลี่ยนแปลงด้านงานศิลปกรรมย่อมสัมพันธ์กับความคิด ความเชื่อ ทัศนคติของศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงาน  ซึ่งได้รับอิทธิพลจากค่านิยมของสังคม  ขณะเดียวกันก็สอดคล้องกับพระราชนิยมของพระมหากษัตริย์ ดังจะเห็นได้จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชนิยมศิลปะ แบบจารีตจึงทรงโปรด ฯให้ฟื้นฟูสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมแบบดั้งเดิม ทั้งงานก่อสร้างอาคารแบบจารีตที่สมบูรณ์แบบ   และสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ ซึ่งผสมผสานศิลปะแบบจารีตเข้ากับอาคารแบบตะวันตก  ขณะเดียวกันพระองค์ก็ทรงอุปถัมภ์งานศิลปกรรมด้วยการรวมหน่วยงานจากต่างกระทรวงเป็นกรมมหรสพ ซึ่งปัจจุบันคือกรมศิลปากร อีกทั้งยังทรงสนับสนุนให้จัดหลักสูตรด้านศิลปะในระดับโรงเรียนคือโรงเรียนเพาะช่าง เพื่อให้งานช่างแบบจารีตของไทยได้ถ่ายทอดสู่เยาวชน

          การ พัฒนาประเทศตามแบบตะวันตกโดยใช้งานด้านศิลปวัฒนธรรมเป็นตัวแทนของความเป็น สมัยใหม่  แม้ว่าจะมุ่งเน้นคุณค่าความหมายของรูปแบบงานศิลปะแบบจารีตว่าเป็นสัญลักษณ์ ความเจริญทางวัฒนธรรมของไทยมาตั้งแต่อดีต  แต่ก็ยังคงมีอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตกปรากฏร่วมด้วย  ทั้งด้านสถาปัตยกรรม  ละคร และภาพวาดล้อบุคคล การก่อสร้างอาคารแบบตะวันตกเพื่อเสนอภาพความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมือง ด้านศิลปะการแสดงนั้นนับเป็นยุคทองทั้งแบบจารีตและละครแบบใหม่ ส่วนการวาดภาพล้อเลียนเป็นอิทธิพลจากตะวันตก  ซึ่งสอดคล้องกับความนิยมของประเทศตะวันตกในยุคสมัยนั้น  

            พระราโชบายส่งเสริมวิถีความเป็นตะวันตกในสังคมไทย คือความเป็นสุภาพบุรุษที่ได้รับการนิยามความหมายเช่นเดียวกับชายชาวอังกฤษ ยุควิคตอเรียน   โดยพระองค์ทรงโปรดฯ ให้มีการจัดตั้งสโมสรเพื่อเป็นพื้นที่ให้ได้มีการพบปะสังสรรค์ เรียนรู้หลักประพฤติทางสังคมแบบตะวันตก  รวมทั้งกิจกรรมการฝึกซ้อมรบและการกีฬาของสมาชิกกองเสือป่า   การส่งเสริมสถานภาพสตรี จากเดิมอยู่ภายใต้อำนาจชายจากค่านิยมที่มีภรรยาได้หลายคน การสนับสนุนให้ได้รับการศึกษาและการเข้าร่วมสมาคม นับเป็นอิทธิพลของประเทศตะวันตกที่มีต่อสังคมไทย 




 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
King Rama VI
ที่มา : สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

         
           During the reign of absolute monarchy, changes in arts were not only related to the idea, belief and attitude of the artists influenced by social values, but also in line with each Royal Highness’ preference . With the preference in Thai traditional arts,  King Rama VI had an initiation to rehabilitate traditional Thai architecture and art .Buildings were built both ina traditional style and a hybrid one which is a blending of Thai and western style. Moreover, King Rama VI supported the work of art by reuniting the working units from various ministries to Performance Department, which is now Fine Arts Department. Furthermore, he supported the inclusion of Art Curriculum in school level so that traditional Thai craftsman work could be passed on to younger generation.
           In terms of the development of the country by using art and culture work representing civilization, although the value of forms of traditional artifacts was defined as symbols of the  prosperity of year gone by traditional Thai culture as shown through delicate handicrafts and elaborate craftsmanship , the Western cultural influence was obviously seen in architecture, drama, and caricature portraits .
           His Majesty’s vision to promote the western way in Thai society, the club was established  with the purposes of  providing area for gentlemanly behavior practice, which was accepted socially. Another activity designed to train men  was battle exercising and sports competition among members of the Scouts with the purpose of creating unity among members. Meanwhile, the support of Thai women’s status in accordance with that of western countries was also implemented by the change of Thai men’s misconception concerning multiple marriage life with more than one wife, and the encouragement of women’s participation in social clubs and formal school education.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น